ความเป็นมาโครงการ
หลักการและเหตุผล
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2559 เห็นชอบโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ
ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก 3 จังหวัด
ซึ่งเป็นกลุ่มจังหวัดเป้าหมาย ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ร่วมกันพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจ
การลงทุนพิเศษที่เรียกว่า “ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)”
ให้เป็นพื้นที่เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแห่งใหม่
โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้รับมอบนโยบายจากรัฐบาลให้เป็นผู้ดำเนินโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก : นิคมอุตสาหกรรม Smart Park
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรองรับนโยบาย Thailand 4.0 และสอดรับกับแนวทางการพัฒนาพื้นที่
ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญ
ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
ในการดำเนินโครงการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม Smart Park กนอ. ได้นำแนวคิดการเติบโต
ทางด้านเศรษฐกิจควบคู่กับความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้โดยมุ่งเน้นการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (New S-Curve) ที่มีนวัตกรรมหรือใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต
ใช้พลังงานสะอาด และก่อให้เกิดมลพิษต่ำ ด้วยเล็งเห็นว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และมีโอกาส
ในการพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับโลก เช่น อุตสาหกรรมดิจิตอล อุตสาหกรรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมการบิน และอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เป็นต้น
วัตถุประสงค์
ความจำเป็นของโครงการ
กนอ. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มีบทบาทและหน้าที่หลักในการจัดตั้งและบริหารจัดการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการลงทุนและดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งหน้าที่สนับสนุนอื่น ๆ
ได้แก่ การอนุญาตและกำกับการประกอบกิจการ การให้สิทธิประโยชน์ การจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก
ด้านบริการต่าง ๆ แก่นักลงทุนอุตสาหกรรม เป็นต้น จึงถือว่าเป็นหน่วยงานหลักในการร่วมดำเนินการ
ในการขับเคลื่อนและส่งเสริมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กนอ.
จึงวางแผนพัฒนาพื้นที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เพื่อจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมต้นแบบในการพัฒนาเชิงนิเวศและนวัตกรรม มีเนื้อที่ประมาณ 1,383.76 ไร่ เพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรม
ทางเทคโนโลยีขั้นสูงและบริการที่ทันสมัย
ที่ตั้งโครงการ
นิคมอุตสาหกรรม Smart Park ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
มีพื้นที่โครงการประมาณ 1,383.76 ไร่ พื้นที่โครงการตั้งอยู่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) บริเวณกิโลเมตรที่ 202-203 และติดกับทางหลวงหมายเลข 3392 หรือถนนปกรณ์สงเคราะห์ราษฎร์
ในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยการเดินทางทางรถยนต์ ประมาณ 154 กิโลเมตร ห่างจากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ประมาณ 54 กิโลเมตร ห่างจากท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิ ประมาณ 130 กิโลเมตร
ห่างจากสนามบินดอนเมือง ประมาณ 179 กิโลเมตร และห่างจากสนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 17 กิโลเมตร สำหรับอาณาเขตพื้นที่โครงการติดต่อโดยรอบโครงการ รายละเอียดดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) และชุมชนชากลูกหญ้า
ทิศใต้ ติดต่อกับ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ ตะวันออก (มาบตาพุด) (ชื่อเดิมนิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก) และชุมชนมาบชลูด-ชากกลาง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ทางหลวงหมายเลข 3392 หรือถนนปกรณ์สงเคราะห์ราษฎร์
และชุมชนหนองแฟบ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ชุมชนบ้านชากลูกหญ้า และชุมชนมาบชลูด-ชากกลาง
การเดินทางเข้าสู่พื้นที่โครงการสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก โดยใช้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 (มอเตอร์เวย์) จากนั้นตัดเข้าสู่ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 เพื่อมุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดระยอง
ตรงไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 จากนั้นเลี้ยวขวาบริเวณ 4 แยก (แยกมาบข่า)
เพื่อเข้าสู่ถนนหมายเลข 3191 ตรงไปตามถนนหมายเลข 3191 จากนั้นให้เลี้ยวขวาบริเวณสามแยก
เพื่อเข้าสู่ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ตรงไป ประมาณ 2.9 กิโลเมตร จะพบทางเข้า
พื้นที่โครงการทางด้านซ้ายมือ บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 202-203
Brochure Thai.pdf
ขนาดไฟล์ 11.22 Mb. ดาวน์โหลด 44 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
Brochure Japan.pdf
ขนาดไฟล์ 10.13 Mb. ดาวน์โหลด 27 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
Brochure England.pdf
ขนาดไฟล์ 10.88 Mb. ดาวน์โหลด 29 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย | |
Brochure China.pdf
ขนาดไฟล์ 11.74 Mb. ดาวน์โหลด 30 ครั้ง |
ดาวน์โหลด แจ้งไฟล์เสีย |
ขอบคุณสำหรับการแจ้งข้อผิดพลาด
ทางหน่วยงานจะรีบทำการแก้ไข และปรับปรุงเพื่อกาให้บริการที่ดีขึ้น